ข่าวสาร

SocAnp NEWS

Lanna Symposium: Lanna Decolonized “ล้านนาทะลุกรอบอาณานิคม”

Lanner และภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขอเชิญชวนนักศึกษา นักวิชาการ และทุกท่านที่สนใจเรื่องล้านนากับการตกเป็นอาณานิคมเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


ในงานเวทีวิชาการ Lanna Symposium: Lanna Decolonized “ล้านนาทะลุกรอบอาณานิคม”


ในวันที่ 4 มีนาคมนี้ ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มีกำหนดการงานดังต่อไปนี้

09.00 น – 09.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน

09.30 น – 10.00 น. ปาฐกถานำ หัวข้อ “ล้านนาทะลุกรอบอาณานิคม”

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์ เรืองศรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

10.00 น. – 12.00 น. เสวนานำเสนอกลุ่มบทความที่ 1 ล้านนาในอาณัติสยาม : คุ้มหลวง ครูบา มิชชันนารี

ร่วมอภิปรายและนำแลกเปลี่ยนประเด็น โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การจัดการไข้ทรพิษในเชียงใหม่และความเป็นพลวัต : ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนากับสยามผ่านการเข้ามาของมิชชันนารีในล้านนา

โดย คุณพงษ์กฤษฎิ์ จิโน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เวียงแก้ว:พระราชวังล้านนา คุกข่มดวงเมือง และมรดกโลกที่ยังมาไม่ถึง

โดย คุณสิตานันท์ สุวรรณศิลป์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การขยายอำนาจรัฐสยามในอาณาบริเวณล้านนา: กรณีศึกษาการบังคับใช้กฎหมายการปกครองคณะสงฆ์

โดย คุณเขมภัทร ทฤษฏิคุณ ​ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)


ประเด็นปัญหาของการเสนอชื่อครูบาศรีวิชัยให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

12.00 น. – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ​

13.00 น. – 14.00 น. เสวนานำเสนอกลุ่มบทความที่ 2 ภูมิบ้านและนามเมือง : ท้องถิ่นในจินตกรรมล้านนา ​

ร่วมอภิปรายและนำแลกเปลี่ยนประเด็น โดย รศ.ดร. วสันต์ ปัญญาแก้ว ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


หมู่บ้านกันดารกลางหุบเขาสู่ชุมชนล้านนาในจินตนาการ: การเผยตัวของหมู่บ้านที่ราบลุ่มน้ำแม่แจ่มในฐานะชุมชนอาณานิคมภายในของวัฒนธรรมล้านนาเชียงใหม่

โดย ทศพล กรรณิการ์ นักวิชาการอิสระ / อดีตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภูมินามพื้นบ้าน: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับวรรณกรรมพื้นบ้านล้านนา

โดย รองศาสตราจารย์ รังสรรค์ จันต๊ะ ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

14.00 น. – 16.00 น. เสวนานำเสนอกลุ่มบทความที่ 3 ล้านนาบ่แม่นก้าคนเมือง : สังคมพหุวัฒนธรรมในล้านนา

ร่วมอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดย โดย ผศ.ดร. พิสิษฎ์ นาสี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ลัวะ ละเวือะ ในล้านนา

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การปกครองผู้คนต่างกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ชายขอบของสยามช่วงปี 1870-1910: กรอบการวิจัยและกรณีศึกษา

โดย ดร. สุชล มัลลิกะมาลย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Prof.Hjorleifur Jonsson (Arizona State University)

หลากภาษา หลากสำเนียง เสียงเพรียกของล้านนา

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปนัดดา ฤกษ์เปลี่ยน ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลากหลายชาติพันธุ์ สีสันท้องถิ่นล้านนา

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

16.00 น. – 17.00 น. กล่าวสรุปงาน

โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทุกท่านสามารถเข้าร่วมงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายในงานมีอาหารและเครื่องดื่มบริการ

ทุกท่านสามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดงานได้ทางบัญชีธนาคารกรุงไทย

หมายเลข 497-0-55633-4 ชื่อบัญชี นายวัชรพล นาคเกษม และ นายปรัชญา ไชยแก้ว

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ lannasymposium@gmail.com

หรือโทร. 082-458-3335